7 เรื่อง เกี่ยวกับเลนส์กล้องที่มือใหม่ต้องรู้
อัพเดทล่าสุด: 4 เม.ย. 2025
1 ผู้เข้าชม
7 เรื่อง เกี่ยวกับเลนส์กล้องที่มือใหม่ต้องรู้ เรื่องของเลนส์กล้องเป็นหนึ่งในความสำคัญ สำหรับมือใหม่อีกด้วย นอกจากตัวกล้องแล้ว เลนส์กล้องก็ตอบโจทย์มุมมองของเราออกมาได้เช่นกัน
การที่เราเข้าใจว่าเลนส์แต่ละแบบ มีความแตกต่างกันอย่างไร มีจุดเด่นในการนำไปใช้แบบใดได้บ้าง และควรเลือกเลนส์แบบใด จะช่วยทำให้เราถ่ายภาพได้ง่ายมากขึ้น
1. ทางยาวโฟกัส คุณสมบัติหลักของเลนส์
ความยาวโฟกัสของเลนส์ ถูกกำหนดให้เป็นระยะห่างระหว่างจุดศูนย์กลางของเลนส์ และเซ็นเซอร์ภาพของกล้อง เมื่อโฟกัสที่ระยะอินฟินนิตี้ เลนส์ทางยาวโฟกัสที่สั้นลง จะให้มุมมองที่กว้างขึ้น ในทางกลับกันความยาวโฟกัสที่ยาวขึ้น จะทำให้ได้มุมมองที่สั้นลง สำหรับกล้อง Mirrorless/DSLR ความยาวโฟกัสของเลนส์ที่เปลี่ยนได้ จะถูกวัดเป็นมิลลิเมตร ซึ่งความยาวโฟกัสของเลนส์ สามารถดูได้ที่ด้านบนของตัวเลนส์
2. ระบบกันสั่นในตัวเลนส์ (Image Stabilization Lens)
ระบบกันสั่นในตัวเลนส์ (Image Stabilization Lens) คือ เลนส์ที่มีระบบจัดการเกี่ยวกับการสั่นไหวภายในตัวเลนส์ เพื่อให้ภาพถ่ายของเรานิ่ง ในกรณีที่เราเคลื่อนไหวในขณะถ่ายภาพไปด้วย หรือในกรณีที่เราต้องการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำกว่าระยะโฟกัส จะช่วยลดโอกาสที่ภาพจะเบลอลงอีกด้วย
3. เลนส์ซูม (Zoom Lenses)
เลนส์ซูม (Zoom Lenses) คือ เลนส์ที่มีระยะช่วงซูมที่ยืดหยุ่น เช่น 24-70, 70-200 เป็นต้น อาจมีระยะต่างกันไปตามการออกแบบของแต่ละแบรนด์ แต่ละระบบกล้อง ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของเลนส์ซูม คือ ให้ความสะดวกในการใช้งานระยะเลนส์ในแต่ละช่วง
4. เลนส์มาตรฐาน/เลนส์ช่วง Normal Lenses
เลนส์มาตรฐานจะมีความยาวโฟกัสคงที่ จะเป็นเลนส์ช่วง 50 mm, 85 mm, 100 mm ส่วนเลนส์ในมิติ และมุมมองเดียวกับสายตาจะเป็นระยะ 50 mm สำหรับเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสที่สูงขึ้น มักจะเป็นเลนส์ที่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพบุคคล เพราะเมื่อใช้รูรับแสงกว้าง จะทำให้การละลายฉากหลังมีความสวยงาม และนุ่มนวล
5. เลขแสดงทางยาวโฟกัส รูรับแสง และขนาดหน้าเลนส์
ในส่วนหน้าของกระบอกเลนส์ จะมีหมายเลขอัตราส่วน และรูรับแสงของเลนส์ 1 : 2.8, 1: 2.8-4, 1 : 3.5-5.6 ซึ่งเป็นรูรับแสงสูงสุดของเลนส์
รูรับแสงจะกำหนดปริมาณของแสงที่เลนส์ส่งผ่านไปยังเซ็นเซอร์รับภาพ หากค่ารูรับแสงยิ่งน้อย ก็จะยิ่งให้ความสว่างมากขึ้น เลนส์ซูมคุณภาพสูง (เกรดโปร) จะให้รูรับแสงคงที่ตลอดช่วงของทางยาวโฟกัส เช่น f/2.8 ที่ 35 มม. และ f/2.8 ที่ 80 มม. แต่ถ้าหากเป็นเลนส์ในเกรดธรรมดาทั่วไป ค่า f-stop จะแตกต่างกันไปตามระยะของทางยาวโฟกัส เช่น a f/3.5 ที่ 28 มม. แต่ f/5.6 ที่ 80 มม. ซึ่งแปลว่ายิ่งเราซูม รูรับแสงจะยิ่งแคบลง
ในการเลือกเลนส์ที่มีค่า f ต่ำ หรือเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้าง มักจะเป็นเลนส์ที่มีคุณภาพสูง และช่วยให้เราถ่ายภาพได้หลากหลายมากขึ้น ทั้งเรื่องของการละลายหลัง และการถ่ายภาพในที่ที่มีแสงน้อย ซึ่งเลนส์ที่รูรับแสงกว้าง และอยู่ในเกรดโปร จะมีราคาที่สูงขึ้น ตามคุณสมบัติของเลนส์
6. เลนส์ระยะไกล (Telephoto Lenses)
เลนส์ระยะไกล (Telephoto Lenses) เป็นเลนส์ที่เน้นจับวัตถุที่อยู่ไกลจากเรามาก ๆ อาจจะอยู่ที่ระยะ 200 mm, 400 mm เป็นต้น ตัวเลนส์จะทำหน้าที่ดึงวัตถุไกล ๆ ให้เข้ามาใกล้เรายิ่งขึ้น อาจจะใช้ถ่ายภาพสัตว์ป่า หรือภาพอื่น ๆ เลนส์ในลักษณะนี้อาจจะนำไปใช้ถ่าย Portrait ได้อีกด้วย เช่น ระยะ 70-200 mm F2.8 เป็นต้น
7. เลนส์มุมกว้าง (Wide Angle Lenses)
เลนส์มุมกว้าง (Wide Angle Lenses) จะมีความยาวโฟกัสสั้นลง 10 mm 42 mm เมื่อเทียบกับเลนส์มาตรฐาน เลนส์พวกนี้เหมาะกับการถ่ายภาพที่เราต้องการเก็บหลาย ๆ อย่าง เข้าไปในเฟรมภาพเดียว สามารถเก็บภาพได้กว้างขึ้น
ส่วนใหญ่เลนส์มุมกว้าง จะถูกนำไปใช้การถ่ายภาพ Landscape หรือการถ่ายภาพ Event นอกจากนี้เลนส์มุมกว้าง จะมีระยะชัดที่ค่อนข้างมาก (ละลายหลังได้ยาก)
การที่เราเข้าใจว่าเลนส์แต่ละแบบ มีความแตกต่างกันอย่างไร มีจุดเด่นในการนำไปใช้แบบใดได้บ้าง และควรเลือกเลนส์แบบใด จะช่วยทำให้เราถ่ายภาพได้ง่ายมากขึ้น
1. ทางยาวโฟกัส คุณสมบัติหลักของเลนส์
ความยาวโฟกัสของเลนส์ ถูกกำหนดให้เป็นระยะห่างระหว่างจุดศูนย์กลางของเลนส์ และเซ็นเซอร์ภาพของกล้อง เมื่อโฟกัสที่ระยะอินฟินนิตี้ เลนส์ทางยาวโฟกัสที่สั้นลง จะให้มุมมองที่กว้างขึ้น ในทางกลับกันความยาวโฟกัสที่ยาวขึ้น จะทำให้ได้มุมมองที่สั้นลง สำหรับกล้อง Mirrorless/DSLR ความยาวโฟกัสของเลนส์ที่เปลี่ยนได้ จะถูกวัดเป็นมิลลิเมตร ซึ่งความยาวโฟกัสของเลนส์ สามารถดูได้ที่ด้านบนของตัวเลนส์
2. ระบบกันสั่นในตัวเลนส์ (Image Stabilization Lens)
ระบบกันสั่นในตัวเลนส์ (Image Stabilization Lens) คือ เลนส์ที่มีระบบจัดการเกี่ยวกับการสั่นไหวภายในตัวเลนส์ เพื่อให้ภาพถ่ายของเรานิ่ง ในกรณีที่เราเคลื่อนไหวในขณะถ่ายภาพไปด้วย หรือในกรณีที่เราต้องการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำกว่าระยะโฟกัส จะช่วยลดโอกาสที่ภาพจะเบลอลงอีกด้วย
3. เลนส์ซูม (Zoom Lenses)
เลนส์ซูม (Zoom Lenses) คือ เลนส์ที่มีระยะช่วงซูมที่ยืดหยุ่น เช่น 24-70, 70-200 เป็นต้น อาจมีระยะต่างกันไปตามการออกแบบของแต่ละแบรนด์ แต่ละระบบกล้อง ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของเลนส์ซูม คือ ให้ความสะดวกในการใช้งานระยะเลนส์ในแต่ละช่วง
4. เลนส์มาตรฐาน/เลนส์ช่วง Normal Lenses
เลนส์มาตรฐานจะมีความยาวโฟกัสคงที่ จะเป็นเลนส์ช่วง 50 mm, 85 mm, 100 mm ส่วนเลนส์ในมิติ และมุมมองเดียวกับสายตาจะเป็นระยะ 50 mm สำหรับเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสที่สูงขึ้น มักจะเป็นเลนส์ที่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพบุคคล เพราะเมื่อใช้รูรับแสงกว้าง จะทำให้การละลายฉากหลังมีความสวยงาม และนุ่มนวล
5. เลขแสดงทางยาวโฟกัส รูรับแสง และขนาดหน้าเลนส์
ในส่วนหน้าของกระบอกเลนส์ จะมีหมายเลขอัตราส่วน และรูรับแสงของเลนส์ 1 : 2.8, 1: 2.8-4, 1 : 3.5-5.6 ซึ่งเป็นรูรับแสงสูงสุดของเลนส์
รูรับแสงจะกำหนดปริมาณของแสงที่เลนส์ส่งผ่านไปยังเซ็นเซอร์รับภาพ หากค่ารูรับแสงยิ่งน้อย ก็จะยิ่งให้ความสว่างมากขึ้น เลนส์ซูมคุณภาพสูง (เกรดโปร) จะให้รูรับแสงคงที่ตลอดช่วงของทางยาวโฟกัส เช่น f/2.8 ที่ 35 มม. และ f/2.8 ที่ 80 มม. แต่ถ้าหากเป็นเลนส์ในเกรดธรรมดาทั่วไป ค่า f-stop จะแตกต่างกันไปตามระยะของทางยาวโฟกัส เช่น a f/3.5 ที่ 28 มม. แต่ f/5.6 ที่ 80 มม. ซึ่งแปลว่ายิ่งเราซูม รูรับแสงจะยิ่งแคบลง
ในการเลือกเลนส์ที่มีค่า f ต่ำ หรือเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้าง มักจะเป็นเลนส์ที่มีคุณภาพสูง และช่วยให้เราถ่ายภาพได้หลากหลายมากขึ้น ทั้งเรื่องของการละลายหลัง และการถ่ายภาพในที่ที่มีแสงน้อย ซึ่งเลนส์ที่รูรับแสงกว้าง และอยู่ในเกรดโปร จะมีราคาที่สูงขึ้น ตามคุณสมบัติของเลนส์
6. เลนส์ระยะไกล (Telephoto Lenses)
เลนส์ระยะไกล (Telephoto Lenses) เป็นเลนส์ที่เน้นจับวัตถุที่อยู่ไกลจากเรามาก ๆ อาจจะอยู่ที่ระยะ 200 mm, 400 mm เป็นต้น ตัวเลนส์จะทำหน้าที่ดึงวัตถุไกล ๆ ให้เข้ามาใกล้เรายิ่งขึ้น อาจจะใช้ถ่ายภาพสัตว์ป่า หรือภาพอื่น ๆ เลนส์ในลักษณะนี้อาจจะนำไปใช้ถ่าย Portrait ได้อีกด้วย เช่น ระยะ 70-200 mm F2.8 เป็นต้น
7. เลนส์มุมกว้าง (Wide Angle Lenses)
เลนส์มุมกว้าง (Wide Angle Lenses) จะมีความยาวโฟกัสสั้นลง 10 mm 42 mm เมื่อเทียบกับเลนส์มาตรฐาน เลนส์พวกนี้เหมาะกับการถ่ายภาพที่เราต้องการเก็บหลาย ๆ อย่าง เข้าไปในเฟรมภาพเดียว สามารถเก็บภาพได้กว้างขึ้น
ส่วนใหญ่เลนส์มุมกว้าง จะถูกนำไปใช้การถ่ายภาพ Landscape หรือการถ่ายภาพ Event นอกจากนี้เลนส์มุมกว้าง จะมีระยะชัดที่ค่อนข้างมาก (ละลายหลังได้ยาก)
บทความที่เกี่ยวข้อง